การจัดการความรู้ : ทฤษฎีขนมชั้น
ทฤษฎีขนมชั้น หมายความว่าใช้แนวความคิดว่าระบบการจัดการความรู้เป็นอีกระบบหนึ่งแยกออกจากงานประจำ แยกออกจากระบบการพัฒนาบุคลากร แยกออกจากระบบการพัฒนาองค์กร ระบบการจัดการความรู้แนวนี้จะทำให้ผู้คนในองค์กรรู้สึกว่าเมื่อมีระบบจัดการความรู้ตนต้องทำงานเพิ่มขึ้น การจัดการความรู้เป็นภาระ ไม่ใช่เครื่องช่วยเหลือให้ตนทำงานสำเร็จได้ง่ายขึ้น มีผลงานคุณภาพสูงขึ้น ในที่สุดการจัดการความรู้ก็จะล้มเหลว คือก่อผลดีไม่คุ้มค่าการลงทุน เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของ สคส.สักเท่าไหร่เป็นเพียงสิ่งที่ผมคิดว่ามันมีลักษณะคล้ายๆกัน เมื่อวานผมได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหาร สองคน ท่านหนึ่งอยู่ในระดับจังหวัด(สสจ.) ท่านหนึ่งอยู่ในระดับอำเภอ(สสอ.)ประเด็นเสวนา คือทิศทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ความเห็นส่วนใหญ่ตรงกันในเรื่องที่ต้องพัฒนา แต่ส่วนที่ต่างคือใครควรทำบทบาทอย่างไรเพื่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่แนวทางนั้น ความเห็นผมคือ สำคัญที่สุดคือการสอดประสานในระดับชั้นต่างๆ สสจ. สสอ. รพ. สอ. ซึ่งทุกวันนี้เหมือนทำเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกัน บทบาทข้างบนสุดต้องชี้ทิศ ระดับรองลงมาต้องนำทางครับ ไม่เช่นนั้น คนข้างล่างจะรู้สึกเวียนหัว ตาลาย และหยุดนิ่งอยู่กับที่ พอไม่มีใครรับผิดชอบภาพรวมจริงๆในแต่ละระดับ ก็จะเหมือนขนมชั้น ที่เพียงแค่วางแปะกันไว้ ไม่เหมือนขนมเปียกปูนที่ GURU ทาง KM สอนเราไว้