ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ประวัติความเป็นมา

กลุ่มมีดอรัญญิกบ้านไผ่หนองจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 โดยนายวินัย ยินดีวิทย์ แต่เดิม นายวินัย ยินดีวิทย์ ได้ประกอบธุรกิจทำมีดอรัญญิกส่วนตัว จนในปี พ.ศ.2540 ส่วนราชการ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนครหลวงได้เข้ามาสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้าน ให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวตามนโยบายอะเมซิ่งไทยแลนด์ นายวินัย ได้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของชาวบ้านทำมีดอรัญญิกจึงได่รวบรวมผู้ที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน เพื่อร่วมทำงานในการปรับปรุงสภาพหมู่บ้านปรับปรุงรูปแบบการต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้หมู่บ้านเป็นที่น่าสานใจมากยิ่งขึ้น

กลุ่มมีดวินัยรวยเจริญ
การดำเนินงานเริ่มแรกนายวินัยย ยินดีวิทย์ ได้ใช้เงินทุนส่วนตัวซึ่งสมัยนั้นเงินทุนยังมีน้อย โดยสร้างร้านมุงจากขนาดเล็กใช้เป็นที่ขายสินค้ามีดอรัญญิก โดยระยะแรก ไปซื้อมีดจากร้านขายส่งในหมู่บ้านต้นโพธิ์และบ้านไผ่หนอง ซึ่งรับมาในราคาส่งมาขายปลีก โดยใช้วิธีวางเงินมัดจำร้านละ 20,000 บาทแล้วนำสินค้ามาขายได้ครบทุกอย่าง ซึ่งมีมูลค่ารวมกันมากกว่าเงินมัดจำ จากนั้นถ้าขายได้ก็เก็บคืนเป็นรายเดือนอีกส่วนหนึ่งก็ยังคงผลิตมีดของตนเองด้วยเช่นกัน
จนเมื่อปี 2541จากการดำเนินนโยบายปีท่องเที่ยวไทยตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้ชื่อ อเมซิ่งไทยแลนด์ มีการขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการต่างๆในการปรับปรุงสภาพหมู่บ้านและเตรียมในการรับนักท่องเที่ยว สุดารัตน์ ได้ให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ มีน้ำใจ จึงเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานจากส่วนราชการต่างๆ
ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่ได้มาชมงานและซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง ทำให้ชื่อร้านวินัยรวยเจริญ เริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่คณะทัวร์ต่างๆ เช่น ทัวร์หนุ่มสาว เป็นต้นด้วยความเป็นคนไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่จึงคิดหาวิธีในการดึงดูดนักท่องเที่ยว จึงทำการปรับปรุงกิจการอยู่เสมอ มีการจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ชมนอกเหนือจากการมาซื้อสินค้า

คณะเยี่ยมชมดูงาน
เช่น การสาธิตการตีมีดจริงๆทุกขั้นตอน การบริการเครื่องดื่มฟรีแก่ผู้เยี่ยมชมรวมถึงการบรรยายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวถึงประวัติ ที่มาของการทำมีดอรัญญิก และยังมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่หน่วยงานต่างๆจัดขึ้น ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น เริ่มมีสื่อมวลชน และหน่วยงานที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวมาจัดทำสารคดีท่องเที่ยวรายการโทรทัศน์ วารสารต่างๆ ทำให้มีคณะทัวร์เข้ามาเยี่ยมชมจากการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆมากขึ้น

การสาธิตการทำมีดอรัญญิก
ปี 2546 นโยบายรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้ส่งสินค้าเข้าร่วมคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภท มีดเดินป่า ซึ่งผลการคัดสรร ได้รับคัดเลือกในระดับ 4 ดาว ทำให้ตลาดการค้าหลากหลายมากขึ้นธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงทำการขยายร้านค้า สร้างห้องรับแขกและบรรยาย ขณะเดียวกันใบสั่งสินค้าจากลูกค้าที่กำหนดแบบเองก็มีมากขึ้นจนต้องขยายเป็นโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตประกอบกับนายวินัย ยินดีวิทย์ ได้มีโอกาสทำงานเป็นประธานเครือข่าย OTOP ของอำเภอนครหลวง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโอกาสเข้าร่วมประชุม อบรม ตามโครงการของหน่วยงานต่างๆทำให้เป็นที่รู้จักในหน่วยงานอื่น ซึ่งภายหลังได้พาคณะเข้าเยี่ยมชมที่ร้านเป็นจำนวนมากตลอดจนคณะศึกษาดูงานของส่วนราชการต่างๆ
ปี 2547 ส่งชุดมีดทำครัวสแตนเลสเข้าคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ได้ระดับ 4 ดาว อีกครั้ง ทำให้โอกาสทางการตลาดเปิดกว้างอย่างต่อเนื่อง มีนักท่องเที่ยวเป็นคณะมาเยี่ยมชมไม่ขาดสายทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สุดารัตน์ ก็ยังไม่หยุดปรับปรุงธุรกิจ โดยการก่อสร้างที่พักแบบรีสอร์ทริมแม่น้ำป่าสักเพื่อเป็นที่พักผ่อนแก่ลูกค้าที่เดินทางมาเยี่ยมชม หรือมาติดต่อค้าขาย สร้างความประทับใจแก่ลูกค้าเป็นอย่างมากมีโอกาสได้ต้อนรับบุคคลสำคัญต่างๆ อาทิเช่น
- พณ วิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรีเดินทางมาเยี่ยมชมอย่างไม่เป็นทางการ
- พณ โภคิณ พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พณ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมร้านและชมการสาธิตการตีมีด ที่วัดพนัญเชิง
ช่างทำมีดอรัญญิก ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นผู้มีความชำนาญในการตีเหล็กเป็นอย่างมากขั้นตอนการทำมีดทุกขั้นตอนต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความชำนาญเฉพาะตัว ตั้งแต่การเลือกวัสดุเช่น เหล็ก ถ่านที่ใช้ในการเผามีด การเผาเหล็กที่ได้อุณหภูมิพอเหมาะที่จะทำการตีขึ้นรูป(หลาบ) หรือ (ซ้ำ)หรือการใช้ค้อนตีเนื้อเหล็กที่เป็นรูปแล้วให้เรียบเป็นมันมีเนื้อแน่น(ไห่) การแต่งให้ได้รูปเล่มที่สวยงาม การทำคมให้เหมาะสมกับชนิดการใช้งานของมีดและการชุบคมให้แข็งซึ่งเป็นสูตรลับและภูมิปัญญาที่สืบทอดและพัฒนากันมา บางชนิดสามารถใช้ฟันตะปูขาดโดยคมมีดไม่มีรอยบิ่นเลยก็มี
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ในวันพฤหัสบดี ข้างขึ้นเดือนห้า หรือเดือนหก ของทุกปี ชาวบ้านต้นโพธิ์ และบ้านไผ่หนอง จะประกอบพิธีที่เรียกว่าพิธีไหว้ครูบูชาเตา ซึ่งทุกบ้านรู้ว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของชาวอรัญญิกโดยทุกบ้านจะทำการลงมือซ่อมเครื่องมือ เครื่องใช้ และทำความสะอาด เตาเผาเหล็กจะต้องปั้นขึ้นมาใหม่และเตรียมเครื่องสังเวยไหว้ครูครบครัน เพื่อประกอบพิธี โดยเมื่อประกอบพิธีเสร็จ ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวานไปเยี่ยมเยือนแลกเปลี่ยนกันโดยถือว่าเป็นการไป ค้ำคูณกัน ซึ่งผลพลอยได้ที่ได้รับก็คือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมีดจะอยู่ในสภาพดีใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน และสร้างจิตสำนึกแก่คนรุ่นใหม่ให้สืบทอดกิจกรรมต่อไป

ผลิตภัณฑ์


ไหว้ครูเตา

ผลิตภัณฑ์
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
OTOP CHAMPION ปี 2547 ได้รับรางวัลระดับ 4 ดาว
OTOP CHAMPION ปี 2549 ได้รับรางวัลระดับ 4 ดาว
ความสัมพันธ์กับชุมชน
- ใช้แรงงานในชุมชนเพื่อกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน
- เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนด้านการทำเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารจากสแตนเลส
- เป็นแหล่งที่ให้เยาวชนในชุมชนมาทำงานเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม
- เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีชื่อเสียงทำให้มีประชาชนเข้ามาท่องเที่ยวในหมู่บ้านและทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น
วัตถุดิบและส่วนประกอบ

เหล็กเกรดชนิดต่างๆ



วัสดุอุปกรณ์และแรงงานที่ใช้
1. เตาเผา (เตาเผาที่ใช้มีลักษณะฝังลงในดิน มีตะแกรงใส่ถ่าน)
2. สูบลม เพื่อใช้เป่าไฟ
3. ค้อน ใช้เพื่อสำหรับตีมีด มีอยู่ 3 อัน
4. คนจับเหล็ก นายเตาคนนี้มีความสำคัญมาก เพราะหน้าที่นี้ต้องอยู่ใกล้กับไฟ
5. คนตี ประกอบด้วยคน 3 คน
6.เหล็กเส้น
ขั้นตอนการผลิต
1. การขึ้นรูปมีดเริ่มจากการตัดเหล็กเป็นหุ่นมีดให้ได้ขนาดและชนิดที่ต้องการ เผาไฟให้แดง ใช้ค้อนหรือพะเนินตี แล้วแต่ขนาดของมีด ให้ได้รูปร่างมีดตามต้องการ ขั้นตอนนี้ต้องเผาเหล็กให้แดงหลายครั้งแล้วแต่ขนาดของมีด

2. การซ้ำ หลังจากได้รูปร่างมีดที่ต้องการแล้วนำมาเผาไฟให้แดง แล้วซ้ำเพื่อเก็บรายละเอียดของมีดให้เหมือนสภาพที่ต้องการทำ กล่าวคือการแต่งสันมีด การตีแผ่ด้านคมมีดให้บาง การตีกั่นเพื่อสำหรับเข้าด้าม หรือการห่อบ้องที่ด้ามมีดเป็นเหล็กชิ้นเดียวกันกับตัวมีด

3. การไห่ เป็นการใช้ค้อนตีที่เนื้อเหล็กในขณะที่เหล็กเย็นตัวผู้ทำจะปล่อยให้เหล็กเย็นตัวเอง แล้วใช้ค้อนตีที่เนื้อเหล็กโดยเฉพาะแถบทางคมมีด ทำให้เนื้อเหล็กมีความแน่นตึง และดัดตัวมีดให้ตรงพร้อมที่จะนำไปขูดคม ขั้นตอนนี้จะทำให้ได้มีดที่มีความคมทน

4. การขูดคม ใช้เหล็กขุดขูดคมให้บางหรือขูดตัวมีดให้ขาวไม่มีรอยค้อน ทำให้ตัวมีดสวยงาม เสร็จใช้ตะไบขัดตัวและคมมีดให้ได้คมตามชนิดของมีดที่ทำเช่นมีดที่ใช้งานหนักคมจะหนากว่ามีดที่ใช้งานเบา จากนั้นแต่งตัวมีด สันมีดให้หมดคมไม่เป็นอันตราต่อผู้ใช้

5. การชุบ เมื่อได้ตัวมีดที่สมบูรณ์แล้วขั้นตอนการชุบต้องใช้ผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ คือต้องรู้ชนิดของเหล็กว่าจะชุบด้วยไฟแรงขนาดเท่าไรการดูเนื้อเหล็กที่ชุบว่าแข็งแกร่งพอหรือไม่ เหมาะสมกับชนิดมีดหรือไม่ การชุบจะทำให้คมมีดมีความคมทน

6. การเข้าด้ามเมื่อได้ตัวมีดที่ชุบแข็งแล้ว ผู้ผลิตจึงนำมาเข้าด้าม ซึ่งผู้ผลิตจะเลือกด้ามตามความต้องการของตลาดเช่น ด้ามไม้ ด้ามอลูมีเนียม หรือด้ามเขาสัตว์ เมื่อเข้าด้ามเสร็จจะนำไปปัดให้เรียบไม่มีคมหรือเสี้ยนแล้วจึงทาสีด้ามด้วยแลกเกอร์

7. การลับคม ผู้ผลิตจะทำการลับคมมีดด้วยหินลับมีดที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเพื่อให้คมบาง และตัวมีดขาวสวยงามพร้อมที่จะนำไปใช้ เสร็จแล้วทาน้ำมันเพื่อกันสนิมห่อกระดาษ หรือใส่ภาชนะ เพื่อป้องกันการกระทบกับอากาศหรือความชื่นอาจก่อให้เกิดสนิม พร้อมส่งจำหน่ายต่อไป


                             

                    

กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มมีดอรัญยิก (กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว)
สถานที่ผลิต ตั้งอยู่ที่เลขที่ 163/2 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ 035-715346
ประธานกลุ่ม นายวินัย ยินดีวิทย์
สถานที่ตั้งกลุ่ม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 163/2 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


          ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมี อย่าง ได้แก่
- มีดชนิดต่างๆ
- เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
-เครื่องมือการเกษตร
- อาวุธโบราณ
-อาวุธที่ใช้ในการแสดงต่างๆ
1. จำหน่ายโดยตรงกับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมในหมู่บ้าน
2. รับใบสั่งซื้อจากในประเทศและต่างประเทศ
3. จำหน่ายตามงานแสดงสินค้าหรืองานส่งเสริมการค้าของส่วนราชการ
                   




การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
1. การโฆษณา (Advertising)
- แผ่นพับใบปลิว
2. การจัดแสดงสินค้า(Trade Show)
จัดแสดงสินค้าตามงานOTOP งานแสดงสินค้าส่งออก และงาน Made In Thailand โดยจะถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจผลิตภัณฑ์ และนำมาสู่การสั่งซื้อ
ประชาสัมพันธ์และการออกข่าว (PublicRelation)
- ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3 สถานี